โฆษณากับศิลปะ

[DekAd] โดย Black&Pink



โฆษณากับศิลปะ

AE สาว: พี่…ช่วยขยายเบอร์โทรให้ใหญ่หน่อยสิ…อ๊ะๆ โลโก้ด้วย
อาร์ตไดฯ หัวแข็ง: บ้าเหรอ จะให้ขยายให้ใหญ่เท่าลูกนิมิตเลยหรือไง
AE สาว: ก็ลูกค้าบรีฟมาอย่างนี้นี่ ทำๆไปเหอะ (เริ่มหัวเสีย)
อาร์ตไดฯ หัวแข็ง: ไม่ทำว้อย งาน…อย่างนี้กูไม่ปล่อยออกไปให้เสียเครดิตหรอก (ชักไม่สบอารมณ์)
AE สาว: อย่ามาทำติสท์แตกในเวลาแบบนี้เลยน่ะพี่ ทำๆไปเหอะ จะได้จบ โฆษณานะไม่ใช่งานศิลป์
อาร์ตไดฯ หัวแข็ง: ก็มันคิดอย่างนี้น่ะสิเลย…ตรู๊ด ตรู๊ด ตรู๊ด ตรู๊ด ตรู๊ด ตรู๊ด…(เซ็นเซอร์ห้ามออกอากาศ)

ก็บ่อยครั้งไปครับ ที่เกิดศึกระหว่างเออี กับครีเอทีฟในเรื่องงานอาร์ต หรือบางที หากเออีเห็นดีเห็นชอบด้วย ก็อาจไปเปิดศึกถกเถียงกันกับลูกค้าแทน และส่วนใหญ่ก็จะหนีไม่พ้นประเด็น

“โฆษณานะไม่ใช่งานศิลป์”

เหล่าบรรดาครีเอทีฟ อาจจะนึกอยู่ในใจก็ได้ว่า “ขายของได้ด้วย งานสวยได้ด้วย” มันทำไม่ได้หรือไงกัน… โฆษณากับงานศิลปะไม่สามารถไปด้วยกันได้เลยอย่างนั้นหรือ…” คำตอบก็คือ ไปด้วยกันได้ครับ แต่ต้องอยู่ในสัดส่วนประมาณ ๗๐:๓๐ หรือไม่ก็ ๘๐:๒๐ น้อยครั้งเหลือเกินสำหรับโฆษณาที่ทำออกมาจริงๆ แล้วสัดส่วนของศิลปะ จะมากกว่าธุรกิจ เพราะต้องทำให้ไว้ก่อนเลยว่า งานโฆษณานั้น ไม่ใช่งานอาร์ตจ๋า…มันมีขอบเขตข้อจำกัดของคำว่า “ธุรกิจ” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น งานโฆษณาจึงถูกจัดให้อยู่ในพวก “Commercial Art  หรือ พาณิชย์ศิลป์”

แต่เชื่อไหมครับว่ามีบุรุษผู้หนึ่งเห็นต่าง และสามารถทำให้งาน Commercial/เชิงพาณิชย์ และ Art/ศิลป์ เป็นเรื่องเดียวกัน บุรุษผู้นั้นก็คือกระทาชายนาย Andy Warhol บิดาแห่ง POP ART ศิลปินที่มีอิทธิพลในศตวรรษที่ ๒๐ มากที่สุด

Andy Warhol หรือชื่อเดิม Andrew Warhola  (ค.ศ. ๑๙๒๘ – ๑๙๘๗) เรียนจบ Commercial Art  (พาณิชย์ศิลป์) และประกอบอาชีพเป็นคนวาดภาพ(Illustrator) ในนิตยสารและในงานโฆษณาด้วยสไตล์เฉพาะตัวในการวาดรูปด้วยหมึกซึ่งเป็นสไตล์แรกๆของเขาในยุค 60’s ที่ Warhol หันมาวาดภาพสินค้าต่างๆเช่น กระป๋องซุปแคมเบล ขวดโค้ก ทัศนคติของ Warhol ที่มีต่อสินค้า และโลกของการบริโภค แตกต่างจากคนในวงการศิลปะนัก เขาเคยกล่าวว่า…

.

“สิ่งดีเรื่องหนึ่งของประเทศนี้ก็คือ แม้แต่คนที่รวยที่สุดในประเทศก็บริโภคของอย่างเดียวกับคนที่จนที่สุดนั่นแหละ ถ้าคุณเห็นโฆษณาโค้กคุณก็รู้ว่า ประธานาธิบดีก็ดื่มโค้ก อลิซาเบธ เทย์เลอร์ ก็ดื่มโค้ก และคุณก็ดื่มโค้กได้… โค้กก็คือโค้ก ไม่ว่าคุณจะมีเงินมากแค่ไหน คุณก็ได้โค้กแบบเดียวกับที่คนจรจัดซื้อได้นั่นแหละ”

The Philosophy of Andy Warhol:

(From A to B and Back Again), 1975.

.

.

การเรียงสินค้าแบบ POP (Point of Purchase) ต้นฉบับก็มาจากเขานั่นแหล่ะครับ

การสกรีนลายลงกระป๋องเป็นครั้งแรก ให้ผู้ซื้อได้รับรู้ว่ามีสินค้ายี่ห้อนี้อยู่นะ และแน่นอน โดดเด่นที่สุดในสมัยนั้นเลยล่ะ (ค.ศ. ๑๙๖๘)

ก็ไม่ว่าศิลปะกับโฆษณา จะเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร…จะแบ่งสัดแบ่งส่วนกันขนาดไหน ก็ต้องทำตามหน้าที่ของมัน และสร้างสรรค์สิ่งที่ดี และมีประโยชน์ออกมาให้เราได้ชมกันต่อไปเถิดครับ

 .

.

.

 


[อ่าน DekAd ในฉบับอื่น] | [สารบัญ – ก้าวฯที่๑๙]

2 Responses to โฆษณากับศิลปะ

  1. สวรรค์เสก พูดว่า:

    พานิชย์ กับ ศิลป์

    งานที่ต้องทำ กับ งานที่อยากทำ

    เงินที่ได้รับ กับ ความสุขที่จะมี

    มันก็ยากอยู่ดีนั่นแหละครับ ที่จะจูนสองสิ่งนี้ให้ไปด้วยกันได้ง่ายๆ คนที่ทำได้แล้วก็คุยได้ล่ะ ไม่ว่ากัน

  2. cotton พูดว่า:

    ได้อ่านเีกี่ยวกับเขาจากอีก blog หนึ่ง
    Andy Warhol เจ้าชายแห่งป็อปอาร์ต
    ฉันว่า”งาน”ของเขาดูร่วมสมัยได้ตลอดนะ

ใส่ความเห็น