ช้าง : ผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนา

keeree.jpg สืบศิลป์ : กีรติ

changg1.jpg

ช้าง  สัตว์สี่เท้าที่มีขนาดใหญ่ มีความผูกพันกับคนเรามาแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนามาแต่อินเดียโบราณอีกด้วย

หลักฐานซึ่งยืนยันความสำคัญดังกล่าวปรากฏครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 3 คือ ภาพสลักหินประดับพระสถูปสาญจี เป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งเป็นรูปที่แปลความได้ว่าคือพระนางสิริมหามายาทรงสุบินถึงช้าง ซึ่งมีความหมายว่าจะผู้มีบุญญาธิการจุติมากำเนิดในครรภ์ของพระองค์

ความหมายในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ สืบเนื่องมาจากคนในสมัยก่อนยังไม่มีศาสนา แต่มีการนับถือธรรมชาติ อาทิ ไฟ น้ำ ต้นไม้ งู โดยพบว่า น้ำมีสำคัญกับชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพของช้างพ่นน้ำจึงมีความหมาย เป็นมงคล ดังนั้นซุ้มประตูพุทธสถานในอินเดียมักจะปรากฏรูปช้างประดับร่วมอยู่ด้วยเสมอ และสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวยังคงได้รับความนิยมจวบจนปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทย ช้างเข้ามามีบทบาทในงานศิลปกรรมไทยมาตั้งแต่ศิลปะทวารวดี (ยุคเริ่มแรกของวัฒนธรรมพุทธศาสนา) และมีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยสุโขทัย เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โดยมีการประดิษฐานช้างล้อมรอบส่วนฐานของเจดีย์

นอกจากนี้ยังพบว่าช้างมีบทบาทสำคัญในศิลปะล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา พระพุทธศาสนาเจริญอย่างมากในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะคติความเชื่อในเรื่องของช้างค้ำจุนพระพุทธศาสนาของสุโขทัย ได้ส่งผลให้รูปแบบศิลปะของล้านนาเน้นการสร้างฐานพระพุทธรูปประดับด้วยช้างอีกด้วย

ดังภาพตัวอย่าง เป็นฐานพระพุทธรูปทรงช้างสามเชือก ซึ่งสลักจากหินทราย เป็นศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยา ปัจจุบันได้ทำการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นหนึ่งตัวอย่างที่มีความงดงาม และมีความเด่นชัดที่แสดงถึงการให้ความสำคัญกับช้างที่นำมาประดับส่วนของฐานเช่นกัน

ช้าง จึงเป็นสัตว์สัญลักษณ์ตามคติที่มีความหมายในเรื่องของความเป็นสิริมงคลและเครื่องหมายแห่งการค้ำจุนพระพุทธศาสนาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ โดยเชื่อว่า ช้างเป็นสัตว์ที่ค้ำจุนจักรวาลและเชิดชูพระพุทธศาสนา ซึ่งแนวความคิดและความเชื่อดังกล่าวได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในดินแดนไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว 

 kaawss.jpg

4 Responses to ช้าง : ผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนา

  1. Leaf terrace พูดว่า:

    ขอให้มี ‘ความสุข’ กับทุกย่างก้าวของเหล่าอักษรรักสีชมพูขอรับ

    ‘ดิน’

  2. ป้าโค พูดว่า:

    มาให้กำลังใจจ้า
    ก้าวแรก ที่น่าจดจำ

  3. nena พูดว่า:

    เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

    ที่โผล่มาเพียงครึ่งใช่เปล่าคะ พอไปดูตามสถานที่จริง คติที่แฝงนี้แยอะมากเลยเนาะ

    ส่วนการดูเนื้อวัตถุนั้น พี่ไม่แน่ใจว่า เราคงต้องวิเคราะห์จากแต่ละพื้นที่ด้วยหรือเปล่านะคะ

    ทุกความเชื่อมีที่มา อ้อยเขียนเล่าได้ ลื่นสนุกเชียว ขอบคุณนะคะ

  4. หวย พูดว่า:

    I like the helpful information you supply in your articles.
    I will bookmark your blog and test again right here regularly.

    I’m slightly certain I’ll be informed many new stuff right right here!
    Best of luck for the next!

ใส่ความเห็น